5 ประโยชน์ โพรไบโอติก (Probiotics)

Share

ตามคำนิยามโดยองค์การอนามัยโลก โพรไบโอติก คือจุลินทรีย์ที่มีชีวิต และร่างกายต้องได้รับในปริมาณที่เพียงพอ จึงจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของโฮสต์ (โฮสต์หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่จุลินทรีย์อาศัยอยู่)

ประโยชน์ของโพรไบโอติก

1.เพิ่มภูมิคุ้มกันโรคCOVID-19ที่ดีขึ้นให้กับร่างกาย (งานวิจัยตาม อ้างอิง 1.)

โพรไบโอติกส์ (Probiotics)นั้นมีส่วนช่วยในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายในส่วนต่างๆ รวมถึงระบบทางเดินหายใจ จากผลการศึกษาในประเทศจีนยืนยันว่า การติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลต่อความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ของมนุษย์ โดยสังเกตจากผู้ป่วยโควิด-19 พบว่ามีจุลินทรีย์ Bifidobacterium spp. และ Lactobacillus spp. ในลำไส้ลดลง ซึ่งหมายรวมถึงภูมิคุ้มกันในร่างกายจะน้อยลงไปด้วย จากงานวิจัยหลายชิ้นในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับโพรไบโอติกจะมีภูมิคุ้มกันมากขึ้นและอาการทุเลาลงมากกว่า รวมถึงการติดเชื้อในกระแสเลือดลดลง นอกจากนี้ยังอาจมีการนำเอาโพรไบโอติกส์ไปรวมอยู่ในวัคซีนอีกด้วย

2.สลายไขมันสะสมส่วนเกิน

คนที่ได้รับโพรไบโอติกกลุ่ม Lactobacillus reuteri, Lactobacillus plantarum , Lactobacillus gasseri เป็นประจำจะช่วยลดการดูดซึมไขมันที่ลำไส้และลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล ส่งผลทำให้ไขมันสะสมในร่างกายน้อยลง ลดน้ำหนักตัวและเส้นรอบเอวร่วมไปด้วย

3.ลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจและเบาหวาน

โพรไบโอติกนอกจากจะลดการดูดซึมของไขมันคอเลสเตอรอลแล้ว ยังส่งผลให้ไขมันในเลือดที่ชื่อว่า ldl ที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดอุดตันลดลงประมาณ 40% หากได้รับในปริมาณที่เพียงพอในเวลาไม่น้อยกว่า 2 เดือน

4.ลดท้องผูกและลำใส้อักเสบ

โพรไบโอติก กลุ่มแลคโตบาซัลลัส สามารถปรับสภาพของระบบทางเดินอาหารและลำไส้ให้กลับมาสู่ภาวะปกติทำให้เยื่อบุลำไส้หลั่งสารพิษออกมาน้อยลง นอกนี้ยังช่วยปรับลดปริมาณจุลชีพในลำไส้ ซึ่งเป็นสาเหตุการอักเสบทำให้ช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี และสามารถลดการอักเสบซ้ำได้โดยการใช้แลคโตบาซิลลัสและบิฟิโดแบคทีเรียม

5.ลดภาวะเครียด

โปรไบโอติกไม่ได้แค่ช่วยให้ขับถ่ายดี สุขภาพลำไส้ดี แต่ยังช่วยให้สุขภาพจิตและอารมณ์ดีอีกด้วย ลำไส้ถูกเรียกว่า “สมองที่สองของร่างกาย” เพราะผลิตสารสื่อประสาทคล้ายกับสมอง เช่น เซโรโทนิน, โดปามีน และ กรดแกรมม่า ซึ่งสารทั้งสามชนิดมีส่วนสำคัญต่อภาวะทางอารมณ์ ในความเป็นจริงแล้ว เซโรโทนินประมาณ 90% ถูกผลิตจากระบบทางเดินอาหาร

ดังนั้นโรคท้องไส้และอารมณ์ความเครียดจึงมักส่งผลต่อเนื่องกัน เช่น เมื่อสมองรู้สึกถึงปัญหา เครียด กดดัน มันจะส่งสัญญาณไปต่อที่ลำไส้ ทำให้ลำไส้บีบตัว ปวดท้อง คลื่นไส้ ในทางตรงกันข้ามกันอาการลำไส้แปรปรวน ลำไส้ทำงานไม่ปกติที่เป็นต่อเนื่อง เรื้อรัง มักทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวลและเป็นโรคซึมเศร้าแทรกซ้อนกับโรคลำไส้แปรปรวน

อ้างอิง
1.Probiotic lactobacilli: Can be a remediating supplement for pandemic
COVID-19. A review โดย lsevier B.V. on
behalf of King Saud University. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1018364720303992
2.โพรไบโอติกส์..คุณประโยชน์ใหม่ ลดน้ำหนัก ลดอ้วนลงพุง https://www.brandsworld.co.th/th/brands-health-club/nutrition-for-health-probiotics-weightloss.html
3.Probiotics may help boost mood and cognitive function https://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/probiotics-may-help-boost-mood-and-cognitive-function
4.โปรไบโอติกช่วยควบคุมอารมณ์และความจำ https://www.interpharma.co.th/
5. 5 ประโยชน์ โพรไบโอติก (Probiotics)https://www.skillsup.in.th/?p=46

error: Content is protected !!